หมี (วัฒนธรรมเกย์)
ในกลุ่มวัฒนธรรมเกย์ หมี หรือ แบร์ (อังกฤษ: bear) โดยส่วนใหญ่จะหมายถึงผู้ชายที่มีรูปร่างใหญ่ และมีขนมากกว่าปกติ จากทั้งหมดเป็นการสร้างภาพแทนความเป็นชายที่ดูแข็งแรง
รูปแบบของความเป็นหมียังสามารถนิยามได้ถึงลักษณะบุคคล และกลุ่มได้ แต่ทั้งนี้ประเด็นเรื่องหมียังเรื่องที่มีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มหมีเกี่ยวกับองค์ประกอบของบุคคลที่มีลักษณะเป็นหมี โดยคนบางกลุ่มยังให้ความสำคัญของหมีในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชายที่ชัดเจน และหลีกเลี่ยงที่จะแสดงความอ่อนโยน[2] ขณะที่บางคนมองว่าการเป็นหมีควรได้รับการยอมรับทั้งหมดและไม่ควรแบ่งแยกประเภท[3]
ลักษณะ
[แก้]แจ็ก ฟริตส์เชอร์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะของหมีว่า "เป็นลักษณะทางเพศรองของผู้ชายซึ่งมีทั้งขนบนใบหน้า, ขนตามร่างกาย, มีลักษณะร่างกายสมบูรณ์ และศีรษะล้าน"[4] โดยตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 2000 ผู้หญิงโดยกำเนิด และผู้ชายข้ามเพศที่มีลักษณะที่มีคล้ายกับหมีเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นในวัฒนธรรม[5][6]
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลุ่มวัฒนธรรมหมีได้ถูกแบ่งย่อยออกไปเนื่องจากกลุ่มผู้ชายบางคนที่นิยามตนเองว่าเป็น "แบรส์" (อังกฤษ: bears) หรือ "มัสเซิลแบรส์" (อังกฤษ: musclebears) ไม่ยอมรับผู้ชายที่มีรูปร่างอวบกว่าในกิจกรรมของกลุ่ม ซึ่งทำให้มักจะเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับในชุมชนหมี ที่ว่าผู้ชายลักษณะหมีบางคนมักจะถูกแบ่งแยกออกมาเนื่องจากรูปลักษณ์ของตนไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน "ความเป็นหมีอย่างแท้จริง" (อังกฤษ: real bear) ซึ่งประเด็นบุคคลที่มีลักษณะอวบหรือไม่อวบมักจะเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาทางการเมืองที่ถกเถียงกันในกลุ่ม โดยบุคคลบางคนในกลุ่มมองว่าการมีภาวะน้ำหนักเกินเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการยอมรับตนเอง นอกจากนี้ยังมีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าชุมชนหมียังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่โดยทั่วไปการมีขนเป็นมาตรฐานของการดึงดูดทางด้านกายภาพของบุคคลที่เป็นหมี จากลักษณะทั้งหมดเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้กับกรรมพันธุ์ของผู้ชายผิวขาวในด้านของสุนทรียภาพ, สังคม และทางเพศของกลุ่มหมี[7] ทั้งนี้ลักษณะตัวอย่างของผู้ชายยุคใหม่การมีหนวดเคราได้ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาย
ข้อวิพากษ์
[แก้]จากงานการศึกษาชิ้นหนึ่งได้พบว่ากลุ่มคนที่ระบุว่าตนเองเป็นหมีมีแนวโน้มจะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยมากกว่าชายรักร่วมเพศกลุ่มอื่น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีความน่ากังวลเพราะอาจจะทำให้มีความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผลการศึกษายังพบว่าบุคคลที่เป็นหมีมักจะมีแนวโน้มความภาคภูมิใจในตนเองต่ำมากกว่าชายรักร่วมเพศกลุ่มอื่น และเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่มีความเสี่ยงสูง[8]
สำหรับบุคคลที่เป็นหมีและเป็นกลุ่มคนสีผิวอื่นบางคนมักจะเป็นนักเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นการขาดความหลายชาติทางด้านเชื้อชาติของชุมชนหมี ซึ่งก็ได้มีการสร้างกลุ่มหมีย่อยสำหรับบุคคลกลุ่มสีผิวอื่นเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกสบายใจและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น[9][10][11]
คำศัพท์เฉพาะ
[แก้]สำหรับคำศัพท์แสลงบางคำที่เกี่ยวข้องกับชุมชนหมีมีดังต่อไปนี้:
- บิกบอย (อังกฤษ: Big Boy) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีเชื้อสายแอฟริกันและอเมริกันแอฟริกัน ซึ่งเหมือนกับกลุ่มบุคคลชับ กลุ่มวัฒนธรรมบิกบอยอาจจะถูกพิจารณาว่ามีความแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมหมี
- ชับ (อังกฤษ: Chub) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มผู้ชายที่มีภาวะน้ำหนักมาก ซึ่งคำนิยามดังกล่าวอาจจะเป็นวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกันของชุมชนเกย์ โดยอาจจะระบุได้ว่ามีความเกี่ยวข้องหรือไม่กับกลุ่มวัฒนธรรมหมี
- คับ (อังกฤษ: Cub) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะอ่อนวัยในลักษณะหมี โดยในบางครั้งอาจจะมีลักษณะรูปร่างเล็ก[12]
- ออตเตอร์ (อังกฤษ: Otter) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลย่อยของกลุ่มวัฒนธรรมหมี ซึ่งเป็นคำนิยามสำหรับผู้ชายที่มีลักษณะขนดกหรือมีรูปร่างเล็ก[13]
- แพนด้า (อังกฤษ: Panda) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีเชื้อสายเอเชีย[14]
- โพลาร์แบร์ (อังกฤษ: Polar Bear) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่มีลักษณะสูงวัยซึ่งจะมีขนบริเวณหน้าและตามร่างกายเป็นส่วนใหญ่ หรือกลุ่มหมีที่มีลักษณะขนอาจจะมีสีขาวหรือสีเทา[14]
- ทรานส์แบร์ (อังกฤษ: Trans Bear) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลข้ามเพศ ซึ่งชายข้ามเพศหรือบุคคลที่มีประสบการณ์การข้ามเพศเป็นผู้ชายมักจะมีลักษณะขนเป็นจำนวนมาก
- เออร์ซูลา (อังกฤษ: Ursula) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลหมีที่เป็นหญิงรักร่วมเพศ[15]
- วูล์ฟ (อังกฤษ: Wolf) เป็นคำนิยามสำหรับกลุ่มบุคคลชายรักร่วมเพศที่มีรูปร่างกำยำ และหนวดเคราซึ่งอาจจะมีรูปร่างผอม, มีกล้ามเนื้อ และแข็งแรง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Muzzy, Frank (2005). Gay and Lesbian Washington. Arcadia Publishing. p. 112. ISBN 9780738517537.
- ↑ Ron Jackson Suresha, (2002). Bears on Bears: Interviews and Discussions. "Bear Ages and Stages", pages 54–58, 149, 179, 236, 260–262, 294. Los Angeles: Alyson Publications. Retrieved on 2008-09-29 ISBN 1-55583-578-3.
- ↑ John Dececco and Les Wright, The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture. Routledge, 2016. ISBN 9781136383274.
- ↑ Suresha, Ron (2009). "Bearness's Big Blank: Tracing the Genome of Ursomasculinity". Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. p. 83. ISBN 978-1590212448.
- ↑ Suresha, Ron (2009). "Lesbears and Transbears: Dykes and FTMs as Bears". Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. pp. 273–84. ISBN 978-1590212448.
- ↑ Connell, Iz (2018). "A woman in the bear community". Archer Magazine.
- ↑ Suresha, Ron (2009). Bears on Bears: Interviews and Discussions. Lethe Press. p. 83. ISBN 978-1590212448.
- ↑ Quidley-Rodriguez, N.; De Santis, J. P. (2015). "A Literature Review of Health Risks in the Bear Community, a Gay Subculture". American Journal of Men's Health. 11 (6): 1673–1679. doi:10.1177/1557988315624507. PMC 5675254. PMID 26718773.
- ↑ Kyle Jackson (29 June 2020). "White Bears, it's time for you to be uncomfortable". Bear World Magazine.
- ↑ Kyle Jackson (10 February 2023). "Has much changed in the Bear community since 2020?". Bear World Magazine.
- ↑ Graham Gremore (1 July 2020). "White gay bear privilege is a thing and it needs to end". Queerty.
- ↑ Kampf, Ray (2000). The Bear Handbook: A Comprehensive Guide for Those who are Husky, Hairy, and Homosexual, and Those who Love'em. Haworth Press. pp. The Bear Cub: Ursus younges. ISBN 978-1-56023-996-3. สืบค้นเมื่อ 2008-08-27.
- ↑ Phd, John Dececco; Wright, Les (2016-04-08). The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136383274.
- ↑ 14.0 14.1 "Bear-y gay" เก็บถาวร 2017-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Los Angeles Times, February 4, 2007.
- ↑ Gulliver, Tanya (2002-05-30). "Beary feminine: Lesbians are claiming an identity gay men monopolize". Xtra!. สืบค้นเมื่อ 2018-07-16.
เอกสารอ่านประกอบ
[แก้]- Cain, Paul D. and Luke Mauerman (2019). Bears in the Raw.
- Hennen, Peter (2008). Faeries, Bears, and Leathermen: Men in Community Queering the Masculine. University of Chicago
- Hoffman, Wayne (2015). An Older Man. A Novella
- Hörmann, Rainer (2004). Das Bärenkult: Das Tier im Mann.
- Jones, Devry (2022-10-22). "DC and the Development of the International Bear Brotherhood Flag". สืบค้นเมื่อ 22 October 2022.
- Kampf, Ray (2000). The Bear Handbook: A Comprehensive Guide for Those Who Are Husky, Hairy and Homosexual, and Those Who Love 'Em. Haworth Press. ISBN 1-56023-996-4
- Luczak, Raymoind (2019). Flannelwood.
- Luczak, Raymond (2016). The Kiss of Walt Whitman Still on My Lips (2016).
- Smith, Travis and Chris Bale (2012). Guide to the Modern Bear.
- Suresha, Ron (2002). Bears on Bears: Interviews and Discussions. Alyson Publications. ISBN 1-55583-578-3
- Wright, Les K. (1997). The Bear Book: Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture. Haworth Press. ISBN 1-56023-890-9
- Wright, Les K. (2000), The Bear Book II: Further Readings in the History and Evolution of a Gay Male Subculture, Haworth, ISBN 978-0-7890-0636-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หมี (วัฒนธรรมเกย์)